• Aucun résultat trouvé

Basic Analytical Toxicology

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2022

Partager "Basic Analytical Toxicology "

Copied!
320
0
0

Texte intégral

(1)

การวิเคราะหเบื้องตนทางพิษวิทยา

กรมวิทยาศาสตรการแพทย

กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545

ISBN 974-7549-21-2

(2)

Basic Analytical Toxicology

โดย © World Health Organization (WHO) 1995 20 Avenue Appia, CH-1211 Geneva 27, Switzerland

ผลงานแปลภาษาไทย

© กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข (2002) ผลงานแปลครั้งที่ 1 จัดพิมพขึ้นตามความตกลงกับ

World Health Organization (WHO) กรมวิทยาศาสตรการแพทย

เปนผูรับผิดชอบการแปลครั้งนี้แตผูเดียว

(3)

สารบัญ

คํานํา บทนํา

1. เครื่องมือและสารเคมี 1

1.1 เครื่องมือ 1

1.2 สารอางอิงและสารเคมี 3

2. พิษวิทยาวิเคราะหทางคลินิก 4

2.1 การวินิจฉัยการเกิดพิษเฉียบพลัน 4

2.2 การรักษาอาการพิษเฉียบพลัน 7

2.3 บทบาทของหองปฏิบัติการพิษวิทยาคลินิก 11

3. ผลการตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยาคลินิก 14

3.1 การทดสอบทางชีวเคมี 14

3.2 การตรวจทางโลหิตวิทยา 19

4. หลักปฏิบัติในดานพิษวิทยาวิเคราะห 21

4.1 การจัดการหองปฏิบัติการและวิธีปฏิบัติ 21

4.2 การทดสอบการเกิดสี 25

4.3 การเตรียมตัวอยาง 26

4.4 ทินเลเยอรโคมาโตกราฟ 28

4.5 อัลตราไวโอเลตและวิสิเบิล สเปกโตรโฟโตมิตรี 31

5. การทดสอบเชิงคุณภาพของสารพิษ 35

5.1 การเก็บรวบรวม การเก็บรักษาและการใชตัวอยาง 35

5.2 การวิเคราะหปสสาวะ สิ่งบรรจุในกระเพาะอาหารและวัตถุอื่นที่พบในที่เกิดเหตุ 39

6. เรื่อง – วิธีวิเคราะหและขอมูลทางพิษวิทยา 69

6.1 แอมเฟตามีน 69 6.3 อะมิทริพไทลีน 71

6.5 แอนติโมนี 74

6.7 อะทีโนลอล 80 6.9 กลุมบารบิทูเรต 82 6.11 เบนโซไดอะซิพีน 89 6.13 กลุมบอเรต 94 6.15 กลุมโบรไมด 99

6.2 อะมิโนเฟนาโซน 70

6.4 อะนิลีน 72

6.6 อารซินิก 76

6.8 อะโทรพีน 81

6.10 แบเรียม 86

6.12 บิสมัท 92

6.14 กลุมโบรเมต 97 6.16 แคดเมียม 102

(4)

6.17 คาเฟอีน 103 6.19 สารกําจัดศัตรูพืชและ

สัตวกลุมคารบาเมต 104 6.21 คารบอนไดซัลไฟด 107 6.23 คารบอนเตตราคลอไรด 113 6.25 คลอราโลส 115 6.27 คลอโรฟอรม 119 6.29 คลอโรควิน 122

6.31 คลอเมไทอะโซล 124

6.33 โคเดอีน 126 6.35 สารกันเลือดเปนลิ่มคูมาริน 129 6.37 แดพโซน 136 6.39 ไดคลอราลฟนาโซน 139 6.41 ดิจอกซินและดิจิทอกซิน 140 6.43 ไดเฟนไฮดรามีน 144 6.45 อีฟดรีน 146 6.47 เอทคลอวีนอล 150 6.49 ฟลูออไรด 152 6.51 ฟอรมาลดิไฮด 157 6.53 กลูเททิไมด 160 6.55 ฮาโลเพอริดอล 162

6.57 ไฮโปคลอไรต 164

6.59 ไอโอเดต 168

6.61 ไอรอน 172

6.63 แลคซาทีพ 176

6.65 ลิโดเคน 181

6.67 เมโพรบาเมต 183

6.69 เมทาโดน 188

6.18 แคมเฟอร 103 6.20 คารบามาซีพีน 106 6.22 คารบอนมอนอกไซด 109 6.24 คลอราลไฮเดรต 114 6.26 คลอเรต 117 6.28 สารกําจัดวัชพืชคลอโร ฟนอกซี 120

6.30 โคลินเอสเตอเรสแอคติวิตี 123 6.32 โคเคน 125 6.34 คอปเปอร 126 6.36 ไซยาไนด 131 6.38 เดกซโตรโพรพอกซีพีน 138 6.40 ไดคลอโรมีเทน 140 6.42 สารกําจัดศัตรูพืชและ สัตวไดไนโตรฟนอล 142 6.44 ไดควอท 144 6.46 เอทานอล 146 6.48 เอทิลลีนไกลคอล 151 6.50 ฟลูออโรอะซิเตต 155 6.52 กรดฟอรมิก 158 6.54 กลีเซอริลไตรไนเตรต 160

6.56 สารกําจัดวัชพืชไฮดรอกซิล เบนโซไนทริล 163

6.58 อิมิพรามีน 167

6.60 ไอโอดีนและไอโอไดด 170

6.62 ไอโซเนียซิด 175

6.64 เลด 179

6.66 ลิเทียม 182

6.68 เมอรคิวรี 186

6.70 เมทานอล 189

(5)

6.73 มอรฟน 194

6.75 ไนเตรต 199

6.77 ไนโตรเบนซีน 204

6.79 สารกําจัดศัตรูพืชและ สัตวออรกาโนคลอรีน 205

6.81 ออรฟนาดรีน 211

6.83 พาราเซตามอล 214

6.85 เพนตะคลอโรฟนอล 219

6.87 พีทิดีน 223

6.89 ฟนาซีติน 224

6.91 ฟโนไทอะซีน 226

6.93 ฟอสฟอรัสและฟอสไฟด 229

6.95 โพรเพน-2-ออล 232

6.97 โพรไพลีนไกลคอล 234

6.99 กรดซาลิไซลิกและอนุพันธ 236 6.101 ซัลไฟด 243

6.103 เตตราคลอโรเอทิลลีน 246

6.105 ทีโอฟลลีน 248

6.107 ดีบุก 252

6.109 โทลูอีน 254

6.111 ไตรคลอโรเอทิลีน 257

6.113 ซิงค 259

6.74 นิโคติน 198

6.76 ไนไตรต 200

6.78 นอรทริพไทลีน 205

6.80 สารกําจัดศัตรูพืชและ สัตวออรกาโนฟอสฟอรัส 208

6.82 ออกซาเลต 212

6.84 พาราควอท 218

6.86 เปอรออกไซด 221

6.88 ปโตรเลียมกลั่น 223

6.90 กลุมฟนอล 225

6.92 ฟนิโทอิน 228

6.94 โพรเคนาไมด 231

6.96 โพรพาโนลอล 233

6.98 ควินินและควินิดีน 235

6.100 สตริกนิน 241

6.102 ซัลไฟต 244

6.104 แทลเลียม 246

6.106 ไทโอไซยาเนต 250

6.108 ทอลบูทาไมด 252

6.110 1,1,1-ไตรคลอโรอีเทน 256

6.112 เวอราพามิล 258

บรรณานุกรม 260

คําแปลศัพท 264

ภาคผนวก 1 รายการสารประกอบอางอิงและสารเคมี 279

ภาคผนวก 2 คาคงที่สําหรับแปลงหนวยของความเขมขนเชิงมวล และความเขมขนเชิงโมลาร 290

(6)

คํานํา

ปจจุบันโรคที่เกิดจากสารพิษเปนปญหาสาธารณสุขที่สําคัญและนับวันจะทวีความรุนแรง มากขึ้น การตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยาเนนการใหบริการเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยและรักษาผูปวย ที่ไดรับสารพิษ ซึ่งดําเนินการโดยหองปฏิบัติการทางพิษวิทยาของกรมวิทยาศาสตรการแพทยหรือ โดยหองปฏิบัติการในโรงพยาบาล ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชานิติเวชศาสตรในมหาวิทยาลัย หนังสือเลมนี้กลาวถึงวิธีการตรวจวิเคราะหเบื้องตนทางพิษวิทยาที่กรมวิทยาศาสตรการแพทยจัดทํา ขึ้นโดยแปลจากหนังสือ Basic Analytical Toxicology ของ World Health Organization (WHO) โดยไดรับลิขสิทธิ์จาก WHO การแปลใชศัพทแพทยศาสตรอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานป

พ.ศ. 2543 เปนหนังสืออางอิงในการแปลศัพททางการแพทย เนื้อหาในเลมประกอบดวยวิธีทดสอบ เชิงคุณภาพอยางงาย และเชิงปริมาณของสารพิษโดยไมตองใชเครื่องมือที่ยุงยาก ราคาแพง สามารถทําไดในหองปฏิบัติการพื้นฐานและชี้ใหเห็นถึงความสําคัญของหลักประกันคุณภาพสําหรับ การตรวจวิเคราะหตัวอยางทุกครั้ง นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของอาการการเกิดพิษจากการ ไดรับสารพิษ

กรมวิทยาศาสตรการแพทยเปนหนวยงานที่มีหนาที่สวนหนึ่งคือใหบริการการตรวจวิเคราะห

ทางพิษวิทยา ทางกรมฯ หวังเปนอยางยิ่งวา หนังสือเลมนี้จะใชเปนแนวทางในการวิเคราะห

สารพิษ เปนคูมือสําหรับการฝกอบรมเจาหนาที่ในหองปฏิบัติการของโรงพยาบาลใหสามารถ ปฏิบัติงานทางพิษวิทยาวิเคราะหเบื้องตนเพื่อบริการแพทยผูรักษาผูปวยที่ไดรับสารพิษ และสําหรับ นิสิตนักศึกษาหรือบุคลากรทางวิทยาศาสตรสุขภาพที่สนใจ

การจัดทําหนังสือเลมนี้ไดรับอนุมัติงบประมาณจัดทําจากผูอํานวยการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตรสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตรการแพทย จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

(นายแพทยณรงคศักดิ์ อังคะสุวพลา) อธิบดีกรมวิทยาศาสตรการแพทย

เมษายน 2545

(7)

บทนํา

หนังสือเลมนี้ประกอบดวยบทที่ 1 กลาวถึงเรื่องเครื่องมือ สารอางอิงและสารเคมีที่จําเปน สําหรับหองปฏิบัติการพิษวิทยาวิเคราะห บทที่ 2 เรื่องพิษวิทยาคลินิกทั่วไป บทที่ 3 เรื่องเคมีคลินิก และโลหิตวิทยาที่เกี่ยวของกับพิษวิทยาคลินิก บทที่ 4 เรื่องการปฏิบัติการพิษวิทยาเชิงวิเคราะห บท ที่ 5 เรื่องการเก็บตัวอยางและเก็บรักษาและการตรวจสารพิษเบื้องตนเชิงคุณภาพ และบทที่ 6 เปนชุดของการวิเคราะหสารแตละเรื่อง (monograph) ที่อธิบายการทดสอบเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณบางชนิดสําหรับกลุมสารพิษและสารพิษ 113 ชนิด แตละเรื่องมีรายละเอียดวิธีการ ประเมินผลทางคลินิกดวย

สวนที่เปนภาคปฏิบัติของหนังสือเลมนี้ ไดใหรายละเอียดของวิธีทดสอบของสารแตละชนิดที่

สามารถปฏิบัติไดเลยในหองปฏิบัติการในเรื่อง (บทที่ 6) ซึ่งรายละเอียดบางสวนอาจมีปรากฏในที่

อื่นของหนังสือเลมนี้ได

วิธีการทดสอบในบทที่ 5 และ 6 เลือกเฉพาะวิธีการที่ใหผลการทดสอบที่เชื่อถือได ภายใต

ขอจํากัดดังกลาวขางตนและยังสามารถนําไปใชกับเครื่องมือที่ไมยุงยากนักกับตัวอยางที่เปนผง เม็ด ยาหรือวัตถุอื่นที่พบใกลกับผูปวยและตัวอยางชีววัตถุไดดวย วิธีงายๆ ที่ใชทดสอบตัวอยางเภสัช ภัณฑอาจหาไดจากสิ่งพิมพอื่นขององคการอนามัยโลกa อยางไรก็ตามสิ่งพิมพเหลานี้จัดทําขึ้นเพื่อ ทดสอบเอกลักษณ ความเสถียรของสารคอนขางบริสุทธิ์บางชนิดและขอควรพิจารณาบางประการ เชน วิธีการทําใหบริสุทธิ์ ความไวและแหลงที่มาของสิ่งรบกวนการตรวจวิเคราะห

การทดสอบในหนังสือเลมนี้ ไมกลาวถึงเอกสารอางอิงปฐมภูมิ เพื่องายตอการเขียนและการ ทดสอบบางวิธีมีการดัดแปลงตอเนื่องมาเปนเวลานาน จนกระทั่งถาใหเอกสารอางอิงของเดิมอาจทํา ใหสับสนได อยางไรก็ตามแหลงที่มาของขอมูลในหนังสือเลมนี้อยูในบรรณานุกรม (หนา 260) นอกจากนี้ มีการประเมินความไว(คาต่ําสุดที่ตรวจวัดได)เชิงคุณภาพไวดวยในแตละเรื่อง (บทที่ 6) การบอกสีขึ้นอยูกับบุคคลพอควร ยิ่งกวานั้น ความไวของการทดสอบบางวิธี เชนการสกัดดวยตัวทํา ละลายอาจเปลี่ยนแปลงไดเมื่อใชปริมาณตัวอยางแตกตางกัน ประเด็นเหลานี้ชี้ใหเห็นถึง ความสําคัญของการมี negative (control) และ positive (reference) samples ในการตรวจ วิเคราะหตัวอยางทุกครั้ง (ดูหัวขอที่ 4.1.5)

คําอธิบายศัพทที่ใชในหนังสือเลมนี้ มีอยูในคําแปลศัพท (หนา 264) และรายชื่อของสารอางอิง และสารเคมีอยูในภาคผนวก 1

a Basic tests for pharmaceutical substances. Geneva, WHO, 1986 ; Basic tests for pharmaceutical dosage forms. Geneva, WHO, 1991.

(8)

หนวยความเขมขนที่ใชในหนังสือนี้คือหนวยเอสไอ (International System; SI) เปนหนวย มวล (มิลลิกรัม/ลิตร ไมโครกรัม/ลิตร เปนตน) การใชหนวยเปนเอสไอ (โมลาร มิลลิโมล/ลิตร ไมโครโมล/ลิตร เปนตน) อาจทําใหเกิดความสับสนไดโดยไมจําเปน และอาจไมมีประโยชนที่ชัดเจน สําหรับพิษวิทยาวิเคราะห สวนคา SI mass/molar unit conversion factor สําหรับสารพิษทั่วไป อยูในภาคผนวก 2 สิ่งที่ควรระลึกเสมอคือ เมื่อวิธีทดสอบนั้นไมไดปฏิบัติบอยๆ ควรเตรียมสารเคมี

ในปริมาณนอยกวา 1 ลิตร เชน 100 มิลลิลิตร

เพื่อความสะดวก สารเคมีในหนังสือเลมนี้ใชชื่อสามัญ เมื่อจําเปนในบางกรณีใชชื่อ IUPAC ที่ใหไวคูกันในดัชนี สําหรับยาใชชื่อที่ไมใชชื่อทางการคา ชื่อสามัญระบุไวในดัชนี

(9)

บทที่ 1

เครื่องมือและสารเคมี

1.1 เครื่องมือ

งานบริการพิษวิทยาวิเคราะหสามารถทําไดในหองปฏิบัติการชีวเคมีคลินิกของโรงพยาบาลหรือ หนวยฉุกเฉินหรือหนวยอุบัติเหตุ (ตามเอกสารขององคการอนามัยโลก: Laboratory services at the primary health care level) a นอกจากเครื่องมือพื้นฐานของหองปฏิบัติการทั่วไปแลว ยังตองการ เครื่องมือเฉพาะเชนเครื่องสําหรับทําทินเลเยอรโครมาโตรกราฟ (thin-layer chromatography, TLC) อัลตราไวโอเลตและวิสิเบิลสเปกโตรโฟโตมิตรี (ultraviolet and visible spectrophotometry) และไม โครดิฟฟวชั่น (microdiffusion) (ตารางที่ 1) สวนไฟฟาสายหลักไมจําเปนตองมีตลอดเวลา

การทดสอบที่จะกลาวในหนังสือเลมนี้ไมมีการใชเครื่องมือที่ซับซอน เชน gas-liquid,high- performance liquid chromatography, atomic absorption spectrophotometry หรือ immunoassays ถึงแมจะไมมีวิธีทดสอบอยางงายสําหรับทดสอบสารบางตัว เครื่องมือที่ซับซอน ดังกลาวมีความจําเพาะและความไวมากกวาวิธีงายๆ แตมีปจจัยตางๆที่ควรนํามาพิจารณากอนนํา เครื่องมือดังกลาวมาใช เชน ความชํานาญของผูใชเครื่องมือ ความบริสุทธิ์ของสารมาตรฐานและ สารเคมี เครื่องแกว และวัสดุสิ้นเปลือง เชน ตัวทําละลาย และกาซ เปนตน

นอกจากนี้แลวยังตองเตรียมงบประมาณสําหรับวัสดุสิ้นเปลืองที่จําเปนใหมีอยูตลอดเวลา (ไดแก

gas chromatographic septa, injection syringes, chromatography columns, solvent filters, chart หรือ integrator paper, recorder ink หรือ fibre-tip pens) และวัสดุเครื่องอะไหลที่ตองสํารอง (เชน detector lamps, injection loops และ column packing materials) สําหรับตัวเครื่องมือนั้นตอง มีการบํารุงรักษาอยางถูกตองตลอดเวลาโดยตัวแทนผูผลิตหรือผูจําหนาย ในประเทศกําลังพัฒนานั้น อาจจําเปนตองมีการบํารุงรักษาบอยกวาประเทศที่พัฒนาแลว จากสภาพการใชงาน (อุณหภูมิ

ความชื้นและฝุน) ซึ่งเปนปญหาคอนขางมากเมื่อเทียบกับประเทศผูผลิต

สําหรับการทดสอบยานั้น อาจใชชุดทดสอบที่มีจําหนายทั่วไป ตัวอยางเชน ระบบ TLC มาตรฐาน ที่ทําขึ้นเพื่อการทดสอบยาเบื้องตน ซึ่งมีขอดีที่เพลต (plate) ไปจุมในน้ํายาหรือไปรับสัมผัสกับสารที่ทํา ใหเกิดสี (visualization reagents) โดยไมตองพนทําใหไมจําเปนตองมีตูดูดควัน (fume cupboard หรือ hood) (ดูหัวขอที่ 4.4.4) การแปลผลทําโดยการเทียบกับหนังสือที่มีภาพสีประกอบ อยางไรก็ตาม เมื่อมีสารเคมีมากกวาหนึ่งชนิดอยูในตัวอยางการแปลผล TLC ที่ไดคอนขางยาก ยิ่งกวานั้น system ที่

มีอยูก็ยังไมรับประกันวาจะใชได

a Unpublished document WHO/LAB/87.2. Available on request from Health Laboratory Technology and Blood Safety, World Health Organization, 1211 Geneva 27, Switzerland.

(10)

ตารางที่ 1: สรุปเครื่องมือพื้นฐานที่จําเปนสําหรับการตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยา

เครื่องชั่งสําหรับหองปฏิบัติการตองไดรับการตรวจสอบที่เชื่อถือไดและสอบเทียบสม่ําเสมอ (top-pan และ analytical) (หัวขอที่ 4.1.3)

เครื่องปนแยกชนิดตั้งโตะ (ชนิดไฟฟาหรือใชมือ) สําหรับแยกตัวอยางเลือดและการสกัดดวย ตัวทําละลาย (หัวขอที่ 4.3.2)

Vortex-mixer หรือเครื่องมือที่คลายกัน ที่เขยาดวยวิธีกลหรือใชมือเขยา เชน rotary mixer (หัวขอที่ 4.3.2)

อางน้ํารอนและ heating block (ไฟฟา) ตะเกียงแอลกอฮอลหรือตะเกียงกาซบิวเทน ตูเย็นสําหรับเก็บตัวอยางหรือสารมาตรฐาน เครื่องวัด pH

ไปเปตตอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ขนาดตาง ๆ (หัวขอที่ 4.1.3) กลองจุลทรรศน ชนิด polarizing กําลังต่ํา

เครื่องแกวสําหรับหองปฏิบัติการ รวมทั้งเครื่องแกวสําหรับปรับปริมาตร อุปกรณการทําความสะอาด (หัวขอที่ 4.1.5)

เครื่องผลิตน้ําบริสุทธิ์เชิงเคมี (หัวขอที่ 4.1.4) อากาศอัดหรือกาซไนโตรเจน

ทินเลเยอรโครมาโตกราฟเพลต หรือสถานที่ อุปกรณสําหรับเตรียมเพลต (หัวขอที่ 4.4.1)

สถานที่ อุปกรณสําหรับแช (developing) และดูทินเลเยอรโครมาโตแกรม รวมทั้งหลอดอัลตราไวโอเลต (254 นาโนเมตรและ 366 นาโนเมตร) และตูดูดควัน (หัวขอที่ 4.4.4)

Single-beam หรือ dual-beam ultraviolet/visible spectrophotometer และ cells ดวย (หัวขอที่

4.5.2)

Conway microdiffusion apparatus (หัวขอที่ 4.3.3) แผนกระเบื้องหลุม (Porcelain spotting tile) (หัวขอที่ 4.2) Modified Gutzeit apparatus (หัวขอที่ 6.6)

ทํานองเดียวกันชุดทดสอบที่ใชหลักการภูมิคุมกันวิเคราะห (immunoassay) ซึ่งใชไมคอยยาก แต

อาจมีปญหาในการปฏิบัติเชน การแปลผล ชุดทดสอบแบบนี้มีวัตถุประสงคแรกเพื่อติดตามการใชยา และการใชยาในทางที่ผิด จึงมีขอจํากัดเมื่อนํามาใชทางพิษวิทยาคลินิก

(11)

1.2 สารอางอิงและสารเคมี

รายชื่อสารอางอิงและสารเคมีที่จําเปนสําหรับพิษวิทยาวิเคราะหขั้นพื้นฐานมีอยูในภาคผนวก 1 เมื่อตองการผลการทดลองที่เชื่อถือได ตองมีสารเคมีที่คอนขางบริสุทธิ์สําหรับเปนสารอางอิงมาตรฐาน แตไมจําเปนตองใชสารอางอิงที่มีความบริสุทธิ์มากๆ และราคาแพงมากอยางที่ใชในการควบคุมคุม ภาพของอุตสาหกรรมการผลิตยา ยาบางชนิดเชนบารบิทาล (barbital) คาเฟอีน (caffeine) กรดซาลิไซ ลิก (salicylic acid) สารอนินทรีย สารอินทรียและตัวทําละลาย ซึ่งเปนสารเคมีในหองปฏิบัติการและมี

ความบริสุทธิ์ในระดับหนึ่งที่พอใชเปนสารมาตรฐาน หาซื้อไดไมยาก ยาควบคุมและเมทาบอไลต

(metabolite) บางตัวปริมาณเล็กนอยอาจไดจาก Narcotics Laboratory Section, United Nations Vienna International Centre, P.O. Box 500, A-1400 Vienna, Austria

ถึงแมเปนการยากที่จะมียา สารกําจัดศัตรูพืชและสัตวและเมทาบอไลตของสารดังกลาวที่บริสุทธิ์

แมในปริมาณเล็กนอย (100 มิลลิกรัม - 1 กรัม) ก็ตาม หองปฏิบัติการควรจัดหา รวบรวมไวเปนสาร อางอิง (ดูภาคผนวก 1) โดยไมตองรอจนมีผูปวยจากสารพิษกอน สารอางอิงดังกลาวเปนสิ่งที่มีคา ควรเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม เพื่อรักษาความเสถียร ปองกันการสูญหาย ความปลอดภัยของสาร เหลานั้นดวย ถาไมสามารถหาสารที่บริสุทธิ์ได อาจใชสารที่ใชในอุตสาหกรรมยาหรืออุตสาหกรรมอื่น สกัดแยกเอาสารที่สนใจออกมาดวยตัวทําละลาย และอยางนอยทําใหบริสุทธิ์เพียงพอสําหรับการตรวจ วิเคราะหเชิงคุณภาพ (ดูหัวขอที่ 4.1.2)

ถึงแมเครื่องมือที่ตองการเพื่อใชในการทดสอบตางๆ ที่อธิบายในหนังสือเลมนี้จะคอนขางงายก็

ตาม แตก็มีสารบางชนิดที่ไมคอยพบใชบอยในหองปฏิบัติการแตจําเปนตองมีสําหรับการทดสอบ ดังกลาว ดังนั้นควรตรวจความเสถียรของสารเหลานี้ดวย และควรปฏิบัติตามขอควรระวังที่กลาวไวดวย

(12)

บทที่ 2

พิษวิทยาวิเคราะหทางคลินิก

นักพิษวิทยาวิเคราะหที่ไดรับการอบรมมีสวนสําคัญในการรักษาผูปวยเนื่องจากพิษของยาหรือ สารเคมี ความรูในงานตรวจวิเคราะหจะเปนประโยชนเมื่อนักวิเคราะหมีความเขาใจในการวินิจฉัยและ การรักษาผูปวย ดังนั้นนักวิเคราะหจําเปนตองมีความรูเบื้องตนของเวชศาสตรฉุกเฉิน และ intensive care รวมทั้งการสื่อสารกับแพทย ตลอดจนความรูทางดานเภสัชวิทยา พิษวิทยา และวิธีการเรงการ กําจัดสารพิษออกจากรางกายและการใชสารแกพิษ (antidote) บทนี้ใหขอมูลพื้นฐานที่จําเปน 2.1 การวินิจฉัยการเกิดพิษเฉียบพลัน

2.1.1 การวินิจฉัย

เมื่อสงสัยวาเกิดพิษแบบเฉียบพลัน แพทยจําเปนตองถามหลายคําถามเพื่อประกอบการวินิจฉัย กรณีที่ผูปวยหมดสติ สถานที่เกิดเหตุและขวดยาหรือภาชนะบรรจุอื่นหรือวัตถุอื่นที่พบในที่เกิดเหตุเปน สิ่งสําคัญตอการวินิจฉัย กรณีที่ผูปวยรูสึกตัว แพทยจะถามคําถามเกี่ยวกับสิ่งที่สงสัยวาเปนสารพิษที่

อาจมีอยูในบานหรือที่ทํางาน รวมทั้งสถานที่เกิดเหตุ ประวัติการรักษา (รวมทั้งการใชยาของผูปวย อาการปวยทางจิต) อาชีพและงานอดิเรก ซึ่งอาจชี้นําถึงสารพิษที่ไดรับ

การตรวจรางกายผูปวย อาจบอกถึงชนิดของสารพิษที่ไดรับ อาการทางคลินิกของสารพิษแตละ ชนิดที่พบบอยมีอยูในตารางที่ 2 ตัวอยางเชน การมีรูมานตาเทารูเข็ม (pin-point pupil) ภาวะหลั่ง น้ําลายมาก(hypersalivation) กลั้นปสสาวะไมได(incontinence) และการกดการหายใจ(respiratory depression) รวมกัน อาจเนื่องจากการไดรับสารพิษที่เปนตัวยับยั้งโคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase inhibitor) เชน สารกําจัดศัตรูพืชและสัตวกลุมออรกาโนฟอสเฟต (organophosphate) ในบางกรณี

แนวปฏิบัติเชนนี้อาจมีขอจํากัดได ถาไดรับสารพิษหลายชนิด และสารพิษแตละชนิดมีกลไกการออก ฤทธิ์ตางกัน บางครั้งยาหลายชนิดมีผลตอรางกายอยางเดียวกันและบางครั้งอาการทางคลินิกที่พบเปน ผลตอเนื่องจากผลอื่น (secondary effects) เชน ภาวะขาดออกซิเจน (anoxia) ดังนั้น ถาผูปวยมาพบ แพทยดวยอาการการหายใจถูกกด และรูมานตาเทารูเข็ม มีความเปนไปไดมากวาผูปวยไดรับสาร จําพวกฝน เชน เดกซโตรโพรพอกซิพีน (dextropropoxyphene) หรือมอรฟน (morphine) แตถารูมาน ตาขยาย อาจเปนยานอนหลับกลุมอื่นเชน กลูเททิไมด (glutethimide) หรือสมองถูกทําลายอาจ เนื่องมาจากเลือดมีออกซิเจนนอยจากการหายใจถูกกด

(13)

ตารางที่ 2 พิษเฉียบพลัน : อาการทางคลินิกเนื่องมาจากการไดรับสารพิษ

อาการทางคลินิก ชนิดของสารพิษ ระบบประสาทสวนกลาง

ภาวะกลามเนื้อเสียสหการ Bromides, carbamazepine, ethanol, hypnotics/sedatives,

phenytoin, thallium

โคมา Alcohols, hypnotics/sedatives, opioids, tranquillizers, many other compounds

ชัก Amitriptyline and other tricyclic antidepressants, orphenadrine, strychnine, theophylline ระบบทางเดินหายใจ

กดการหายใจ Alcohols, hypnotics/sedatives, opioids, tranquillizers, many other compounds

ปอดบวมน้ํา Acetylsalicylic acid, chlorophenoxy herbicides, irritant (non-cardiogenic) gases, opioids, organic solvents, paraquat

อาการหายใจเร็วแรง Acetylsalicylic acid, ethylene glycol, hydroxybenzonitrile herbicides, isoniazid, methanol, pentachlorophenol หัวใจและการไหลเวียนเลือด

หัวใจเตนเร็ว Anticholinergics, sympathomimetics หัวใจเตนชา Cholinergics, β-blockers, digoxin, opioids ความดันเลือดสูง Anticholinergics, sympathomimetics

ความดันเลือดต่ํา Ethanol, hypnotics/sedatives, opioids, tranquillizers, many other compounds

หัวใจเตนไมเปนจังหวะ β-blockers, chloroquine, cyanide, digoxin,

phenothiazines, quinidine, theophylline, tricyclic

antidepressants

ตา

มานตาหรี่ Carbamate pesticides, opioids, organophosphorus pesticides, phencyclidine, phenothiazines

มานตาขยาย Amfetamine, atropine, cocaine, tricyclic antidepressants

(14)

ตารางที่ 2 (ตอ)

อาการทางคลินิก ชนิดของสารพิษ

อาการตากระตุก Carbamazepine, ethanol, phenytoin อุณหภูมิรางกาย

ตัวรอนเกิน Acetylsalicylic acid, dinitrophenol pesticides,

hydroxybenzonitrile herbicides, pentachlorophenol, procainamide, quinidine

ตัวเย็นเกิน Carbon monoxide, ethanol, hypnotics/sedatives, opioids, phenothiazines, tricyclic antidepressants

ผิวหนัง ผม และเล็บ

สิว Bromides, organochlorine pesticides

ผมรวง Thallium

ระบบทางเดินอาหาร

น้ําลายมาก Cholinesterase inhibitors, strychnine ปากแหง Atropine, opioids, phenothiazines, tricyclic

antidepressants ทองผูก Lead, opioids, thallium

ทองรวง Arsenic, cholinesterase inhibitors, laxatives

เลือดไหลในกระเพาะ Acetylsalicylic acid, caustic compounds (strong acids/

อาหาร/ลําไส bases), coumarin anticoagulants, indometacin ตับถูกทําลาย Amanita toxins, carbon tetrachloride, paracetamol,

phosphorus (white) ระบบทางเดินปสสาวะ

ปสสาวะคั่ง Atropine, opioids, tricyclic antidepressants

กลั้นปสสาวะไมอยู Carbamate pesticides, organophosphorus pesticides ไตวาย Amanita toxins, cadmium, carbon tetrachloride,ethylene

glycol, mercury, paracetamol

(15)

การวินิจฉัยผูปวยตองพิจารณาประเด็นอื่นดวยนอกจากการไดรับสารพิษ เชน โคมา อาจเกิดขึ้น จากหลายสาเหตุนอกจากการไดรับสารพิษเชนไดรับอุบัติเหตุเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

(cerebrovascular) หรือโรคเบาหวานที่ควบคุมไมได กรณีเหลานี้ชี้ใหเห็นถึงความสําคัญของการ เรงดวนผลวิเคราะหทางชีวเคมีและทางโลหิตวิทยา (ดูบทที่ 3) ในที่สุดคือความเปนพิษจากสารพิษบาง ชนิดอาจวินิจฉัยผิดไดโดยเฉพาะเมื่อผูปวยอยูในภาวะอาการระยะทาย ๆ เชน ภาวะหัวใจหายใจหยุด (cardiorespiratory arrest) เนื่องจากไซยาไนด ภาวะตับอับเสบเนื่องจาก คารบอนเตตราคลอไรด

และพาราเซตามอล เบาหวานเนื่องจากน้ําตาลในเลือดต่ํา รวมทั้งเด็กเล็กที่ไดรับแอลกอฮอล ความรูสึก สัมผัสเพี้ยน (paraesthesia) เนื่องจากแทลเลียม (thallium) ปอดอักเสบที่ลุกลาม (progressive pneumonitis) เนื่องจากพาราควอทและไตวายเนื่องจากเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol)

2.1.2 จําแนกระดับของโคมา

การสูญเสียการรับรู (โคมา) เปนอาการที่พบไดบอยเมื่อเกิดอาการพิษแบบเฉียบพลัน โดยเฉพาะ อยางยิ่งถาไดรับสาร(ยา)ที่กดระบบประสาทสวนกลาง การจําแนกระดับของโคมาทําไดโดยใชสเกลของ Edinburgh (ดูตารางที่ 3) การจําแนกระดับของโคมามีขอดีที่เปนประโยชนใชอธิบายเพื่อความเขาใจ ตรงกันระหวางเจาหนาที่หองปฏิบัติการและหนวยขอมูลการไดรับสารพิษเพื่อคําแนะนํา

ตารางที่ 3 ระดับความรุนแรงของโคมาตาม Edinburgh Scale

ระดับของโคมา อาการทางคลินิก

1 ผูปวยงวงนอน แตตอบสนองตอคําสั่ง

2 ผูปวยไมรูสึกตัว แตตอบสนองตอการกระตุนเพียงเล็กนอย เชน การเขยา และตะโกน

3 ผูปวยไมรูสึกตัว และตอบสนองเฉพาะสิ่งกระตุนที่ทําใหเจ็บปวด เชน การถู

นวดกระดูกอก

4 ผูปวยไมรูสึกตัว และไมตอบสนองการกระตุนใดๆ ทั้งสิ้น

2.2 การรักษาอาการพิษเฉียบพลัน 2.2.1 การปฏิบัติทั่วไป

เมื่อสงสัยวาเปนพิษแบบเฉียบพลัน ควรรักษาตามอาการและพยุงอาการโดยไมตองรอผลการ ตรวจจากหองปฏิบัติการ ถาผูปวยไดรับสารพิษจากการหายใจควรเคลื่อนยายผูปวยออกจากสถานที่

เกิดเหตุ ถาผูปวยไดรับสารพิษทางผิวหนังควรถอดเสื้อผาที่ปนเปอนสารพิษและลางผิวหนังดวย ของเหลวที่เหมาะสมซึ่งโดยมากก็คือน้ํา ถาผูปวยที่เปนผูใหญเต็มวัยไดรับสารพิษโดยการกิน ควรดูด

(16)

ออกและลางทองเพื่อลดการดูดซึมสารพิษ สําหรับผูปวยเด็กอาจใหยาน้ําไอพีคาคูนา (ipecacuanha (ipecac) syrup) เพื่อใหอาเจียน หลังจากลางทองแลวควรใหถานกัมมันต (activated charcoal) ใน ขนาดมากพอไวในกระเพาะ ชวยลดการดูดซึมสารที่เหลือในกระเพาะอาหาร มีการศึกษาวาการลาง ทองและการทําใหอาเจียนเพื่อปองกันการดูดซึมใหผลดีพอๆ กับการใหถานกัมมันตเพียงหนึ่งครั้งหรือไม

พบวาการใหถานกัมมันตมากกวาหนึ่งครั้งชวยเรงการกําจัดสารพิษบางชนิดไดดี แตไมควรใหถานกัม มันตทางปากหลังจากใหสารปองกันไปแลว เชนเมื่อใหเมไทโอนีน (methionine) หลังจากการไดรับยา พาราเซตามอลเกินขนาด

หลังจากนั้นแลว การดูแลแบบพยุงอาการเพียงอยางเดียวผูปวยสวนมากสามารถกลับเปนปกติได

ในรายที่เกิดอาการพิษรุนแรง ซึ่งรวมถึงการไดรับยากันชักทางหลอดเลือดดําเชน ไดอะซีแพม (diazepam) (ดู benzodiazepines) หรือโคลเมไทอะโซล (clomethiazole) หรือยาตานภาวะหัว ใจเตนเสียจังหวะ (antiarrhythmics) เชน ลิโดเคน (lidocaine) ยาเหลานี้มักตรวจพบไดเมื่อมีการ วิเคราะหทางพิษวิทยา ลิโดเคนใชเปนยาชาเฉพาะที่ และมักพบในปสสาวะซึ่งเปนผลมาจากการใชยา ระหวางสวนทอปสสาวะ ยาหรือสารเคมีอื่นที่ใชขณะทําการตรวจรักษา เชน การเจาะไขสันหลัง (lumbar puncture)

บางครั้งอาจตองใหการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงเชน การใหสารแกพิษและการเรงกําจัดสารพิษ บางกรณีอาจรักษาไดหลังจากไดรับผลการตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยาหรือทราบชนิดของสารพิษมา กอน เพราะมีความเสี่ยงจากการรักษาดังกลาว โดยทั่วไปการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงนี้จะทําเมื่อทราบ ชนิดและ/หรือปริมาณสารพิษแลว

2.2.2 สารแกพิษ หรือสารปองกัน

สารพิษบางชนิดเทานั้นที่มีสารแกพิษหรือสารปองกันสารพิษ (ดูตารางที่ 4) มีการถกเถียงกัน มากในการใชสารแกพิษหรือสารปองกันสารพิษ เชน การใชสารแกพิษหรือสารปองกันสารพิษ เนื่องจากการไดรับไซยาไนด เพราะสารแกพิษหรือสารปองกันสารพิษเองก็มีความเปนพิษอยูในตัวเอง ซึ่งตองใชดวยความระมัดระวัง การที่ผูปวยไมตอบสนองตอการไดรับสารแกพิษชนิดใดชนิดหนึ่ง ไมได

หมายความวาผูปวยไมไดรับสารพิษกลุมนั้น ตัวอยางเชนนาลอกโซน (naloxone) ซึ่งเปนสารตานโอป

ออยด (opioid) เชน มอรฟนและโคเดอีน จะทําใหฟนจากโคมาอยางสมบูรณและรวดเร็ว ยกเวนเมื่อใช

กับผูติดยาเสพติดจะทําใหเกิดอาการถอนยาเฉียบพลัน ถาไดรับนาลอกโซนแลวไมมีการตอบสนอง ไมไดหมายความวาไมรับสารประเภทฝน แตอาจเปนไปไดวายาประเภทอื่นที่ไมใชฝน (non-opioid) เปนสาเหตุของโคมา หรือไดรับนาลอกโซนนอยเกินไป หรือสมองถูกทําลายเพราะเลือดมีออกซิเจนนอย จากระบบหัวใจหายใจหรือระบบหายใจหยุด

(17)

2.2.3 การรักษาแบบเรงกําจัดสารพิษ

วิธีการเรงการกําจัดสารพิษออกจากระบบไหลเวียนของรางกายมี 4 วิธีคือ (ก) การให

รับประทานถานกัมมันตซ้ํา ๆ (ข) เรงการขับปสสาวะโดยการเปลี่ยนแปลงความเปนกรดเบสของ ปสสาวะ (ค) การชําระเลือดผานเยื่อบุชองทอง (peritoneal dialysis) การชําระเลือดผานเยื่อบุไตเทียม (haemodialysis) และ (ง) ฮีโมเพอรฟวชั่น (haemoperfusion)

การเรงกําจัดสารตางๆ ออกจากระบบไหลเวียน เชน สารจําพวกบารบิทูเลต (barbiturates) คาร

บามาซีพีน (carbamazepine) ควินิน (quinine) และทีโอฟลลีน (theophylline) (และอาจมีกลุมกรด ซาลิไซลิกและอนุพันธ) โดยการใหถานกัมมันตทางปาก ทุกๆ 4-6 ชั่วโมงจนกระทั่งอาการทางคลินิกดี

ขึ้น และอาจใหยาถายรวมดวย เพื่อลดระยะเวลาการขับสารออกจากทางเดินอาหารซึ่งจะลดการดูดซึม สารพิษกลับเขาไปอีก วิธีนี้มีขอดีที่ไมเจ็บปวด (noninvasive) แตไดผลนอยลงสําหรับผูปวยที่ลําไสอืด เปนอัมพาต (paralytic ileus) เนื่องจากการกินสารบางชนิด เชน ฟโนบารบิทาล ผูปวยที่ไมมีรีเฟล็กซ

ขยอน (gag reflex) หรือผูปวยที่ไมคอยรูสึกตัวควรระมัดระวังการสําลักเขาปอด

ตารางที่ 4 สารแกพิษ หรือสารปองกันสารพิษ ที่ใชในการรักษาความเปนพิษเฉียบพลันa

สารแกพิษ สารพิษ

Acetylcysteine Paracetamol

Atropine Carbamate pesticides, organophosphorus pesticides

Deferoxamine Aluminium, iron

DMSAb Antimony, arsenic, bismuth, cadmium, lead, mercury DMPSc Copper, lead, mercury (elemental and inorganic)

Ethanol Ethylene glycol, methanol Antigen-binding (Fab) Digoxin

antibody fragments

Flumazenil Benzodiazepines Methionine Paracetamol

Methylene blue Oxidizing agents (chlorates, nitrites, etc.) Naloxone Opioids (codeine, pethidine, morphine, etc.)

Obidoxime chloride Organophosphorus pesticides (contraindicated with (or pralidoxime iodide) carbamate pesticides)

(18)

ตารางที่ 4 (ตอ)

สารแกพิษ สารพิษ

Oxygen Carbon monoxide, cyanide

Physostigmine Atropine

Phytomenadione Coumarin anticoagulants, indanedione anticoagulants

(vitamin K1)

Potassium Theophylline, barium

Protamine sulfate Heparin

Prussian blued Thallium

Pyridoxine (vitamin B6) Isoniazid Sodium calcium edetate Lead, zinc

a = Information on specific antidotes is given in the IPCS/CES Evaluation of Antidotes Series; see Bibliography, p. 260

b = Dimercaptosuccinic acid c = Dimercaptopropanesulfonate d = Potassium ferrihexacyanoferrate

วัตถุประสงคของการขับปสสาวะคือเรงการกําจัดสารพิษออกทางปสสาวะ โดยการเพิ่มปริมาณ ปสสาวะตอครั้ง ซึ่งทําโดยการใหของเหลวที่เหมาะสมทางหลอดเลือดดํา ปจจุบันการขับปสสาวะมักทํา ควบคูกับการเปลี่ยนแปลง pH ของปสสาวะ การกําจัดทางไตของสารที่มีความเปนกรดออน เชน สาร กําจัดวัชพืชคลอโรฟนอกซี (chlorophenoxy) และกลุมซาลิไซเลตอาจทําใหเพิ่มขึ้นไดโดยการให

โซเดียมไบคารบอเนตทางหลอดเลือดดํา วิธีนี้ยังชวยปองกันไมใหเกิดความเปนพิษทั้งระบบดวยโดย แยกเอาสารพิษมาอยูในสวนที่เปนของเหลวเชน เลือด การทําใหรางกายมีความเปนดางมีประสิทธิภาพ เทาเทียมกับการเรงขับปสสาวะที่ทําใหเปนดางพรอมกัน และยังมีขอดีกวาที่ลดความเสี่ยงตออาการ แทรกซอนจากการมีของเหลวมากเกินไป เชนรบกวนสมดุลของเกลือแร สมองหรือปอดบวมน้ํา (pulmonary oedema) อยางไรก็ตาม คา pK ของสารพิษควรเหมาะสมตอการกําจัดออกทางไตโดย การเปลี่ยนแปลง pH ของปสสาวะในชวงสรีรวิทยาปกติเทานั้น ควรมีการตรวจติดตาม pH ของ ปสสาวะเพื่อใหแนใจวาถึงคาที่ตองการ ถึงแมเคยคิดวาการทําใหปสสาวะเปนกรดเรงการขับสารที่เปน

(19)

การแยกสารผานเยื่อ (dialysis) และฮีโมเพอรฟวชั่น เปนการแยกเอาสารออกจากระบบไหลเวียน โดยตรง ในการชําระเลือดผานเยื่อ ใหเลือดผานเยื่อซึ่งสัมผัสกับสวนที่เปนของเหลวในไตเทียม ขณะที่

การแยกสารผานเยื่อทางหนาทองใชวิธีซึมซาบ (infuse) ของเหลวที่เหมาะสมเขาไปในชองทอง หลังจาก นั้น 2-4 ชั่วโมง จึงระบายของเหลวนั้นออก ในการทําฮีโมเพอรฟวชั่น เลือดถูกสูบผานวัสดุดูดซับ (เคลือบ ดวยถานกัมมันตหรือเรซินชนิดแอมเบอรไลท เอกซเอดี-4 (amberlite XAD-4) การชําระเลือดผานเยื่อ นิยมใชเมื่อสารที่ตองการแยกละลายไดในน้ํา เชน เอทานอล และฮีโมเพอรฟวชั่นนิยมใชกับสารที่ละลาย ไดดีในไขมันเชน บารบิทูเรตกลุมที่ออกฤทธิ์สั้น ซึ่งมีสัมพรรคภาพดีกับถานกัมมันต หรือเรซินชนิดแอม เบอรไลท เอกซเอดี-4 การตัดสินใจเลือกใชวิธีใดควรขึ้นอยูกับสภาวะทางคลินิกของผูปวย ลักษณะ สมบัติและความเขมขนของสารพิษในพลาสมา ทั้งการชําระเลือดผานเยื่อและฮีโมเพอรฟวชั่นใหผลดี

เฉพาะเมื่อสารพิษมีปริมาตรการกระจายนอย เชนปริมาตรการกระจายสัมพัทธนอยกวา 5 ลิตร/กิโลกรัม 2.3 บทบาทของหองปฏิบัติการพิษวิทยาคลินิก

ผูปวยที่ไดรับสารพิษสวนมากจะไดรับการรักษาอยางถูกตองเพียงอาศัยผลปฏิบัติการทางชีวเคมี

คลินิกและโลหิตวิทยา กรณีเหลานี้เปนจริงโดยเฉพาะเมื่อไมมีขอสงสัยที่เกี่ยวกับสารพิษและผลการ วิเคราะหเชิงปริมาณไมมีผลตอการรักษา งานตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยามีประโยชนในกรณีที่ไม

สามารถวินิจฉัยไดวาอาการเปนพิษเกิดจากสารชนิดใดและตองการใหสารแกพิษ หรือสารปองกันหรือ รักษาโดยการเรงการกําจัด นักวิเคราะหที่เกี่ยวของกับการไดรับสารพิษแบงงานวิเคราะหออกเปนสวนๆ ไดเปนขั้นกอนการวิเคราะห ขั้นการวิเคราะหและขั้นหลังการวิเคราะห (ดูตารางที่ 5)

ตารางที่ 5 ขั้นตอนในการสอบสวนทางพิษวิทยาวิเคราะห

ขั้นตอนที่ การดําเนินการ ขั้นกอนการวิเคราะห

1 จัดการใหไดรายละเอียดของการรับรักษา รวมทั้งหลักฐานแวดลอมของการเกิดพิษ และผลทาง ชีวเคมีและโลหิตวิทยา (ดู บทที่ 3)

2 จัดการใหไดประวัติทางการแพทยของผูปวย และถาทําไดควรทําใหแนใจวาไดรับ ตัวอยางที่เหมาะสมสําหรับตรวจวิเคราะห และจัดลําดับความสําคัญการตรวจ วิเคราะห

ขั้นวิเคราะห

3 ตรวจวิเคราะหตามที่ตกลงกันแลว

ขั้นหลังการวิเคราะห

4 แปลผลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับแพทยผูรักษาผูปวย

5 ตรวจวิเคราะหเพิ่มเติมโดยใชตัวอยางเดิมหรือตัวอยางใหมถาจําเปน

(20)

ตารางที่ 6 การแปลผลของการตรวจวิเคราะหทางพิษวิทยาฉุกเฉิน

สารพิษ ความเขมขนที่ทําใหเกิดพิษรายแรง a การรักษา 1. การรักษาเชิงปองกัน

Paracetamol 200 มิลลิกรัม/ลิตร หลังจากกิน

แลว 4 ชั่วโมง อะซิทิลซีสเทอีนหรือเมไทโอนีน 30 มิลลิกรัม/ลิตร หลังจากกิน

แลว 15 ชั่วโมง

Methanol 0.5 กรัม/ลิตร เอทานอล

Ethylene glycol 0.5 กรัม/ลิตร

Thallium 0.2 มิลลิกรัม/ลิตร (ปสสาวะ) Prussian blueb 2. การรักษาโดยวิธีคีเลชั่น

Iron 5 มิลลิกรัม/ลิตร (ซีรัม) ดีเฟอโรซามีน

Aluminium 50-250 ไมโครกรัม/ลิตร (ซีรัม)

lead 1 มิลลิกรัม/ลิตร (whole blood ผูใหญ) DMSAc/ DMPSd/

Sodium calcium edetate

Cadmium 20 ไมโครกรัม/ลิตร (whole blood) DMSA

Mercury 100 ไมโครกรัม/ลิตร (whole blood) DMSA/DMPS

Arsenic 200 ไมโครกรัม/ลิตร (whole blood) DMSA

3. การรักษาโดยการเรงการกําจัด Acetylsalicylic acid 900 มิลลิกรัม/ลิตร

(as salicylate) หลังจากกินแลว 6 ชั่วโมง หรือ

450 มิลลิกรัม/ลิตร

หลังจากกินแลว 24 ชั่วโมง ขับปสสาวะในสภาพที่เปน

Phenobarbital 200 มิลลิกรัม/ลิตร ดาง

Barbital 300 มิลลิกรัม/ลิตร Chlorophenoxy 500 มิลลิกรัม/ลิตร herbicides

Références

Documents relatifs

Chaque joueur lance le dé à tour de rôle et avance du nombre de cases indiqué en respectant les consignes des cases « Jack » et des cases « ogre ». Celui qui totalise le plus de

[r]

There is no simple qualitative test for lidocaine, but it can be detected and identified by thin-layer chromatography of a basic solvent extract of urine, stomach contents or

[r]

modélise en coupe ce terril par un morceau de la parabole d'équation y =−x 2 +25 Si Alexis, même du haut de ses 1 m 80 , se place trop prés du pied du terril, il ne voit plus

[r]

[r]

Les camarades de jeu retiennent la position des cartes pour former plus facilement de nouvelles paires. Pour l’impression du