• Aucun résultat trouvé

mhGAP Intervention Guide คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0

N/A
N/A
Protected

Academic year: 2022

Partager "mhGAP Intervention Guide คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0"

Copied!
175
0
0

Texte intégral

(1)

คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0

สำาหรับโรคจิตเวช โรคระบบประสาท และ

ความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด ในสถานบริการสุขภาพทั่วไป

mhGAP Intervention Guide

for mental, neurological and substance use disorders in non-specialized health settings

Version 2.0

(2)

ตีพิมพ์และเผยแพร่โดย องค์การอนามัยโลก ค.ศ. 2016

ภายใต้ชื่อเรื่อง mhGAP intervention guide for mental, neurological and substance use disorders in non-specialized health settings:

mental health Gap Action Programme (mhGAP) – version 2.0

© World Health Organization 2016

องค์การอนามัยโลกได้อนุญาตสิทธิ์ในการแปลและตีพิมพ์เป็นฉบับภาษาไทยแก่กรมสุขภาพจิต ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคุณภาพและความถูกต้องในฉบับภาษาไทยแต่เพียงผู้เดียว ความไม่สอดคล้องใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างฉบับภาษาอังกฤษและฉบับภาษาไทยนั้น ให้ยึดต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก

คู่มือการดูแลรักษา mhGAP สำาหรับโรคจิตเวช โรคระบบประสาท และความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติดในสถานบริการสุขภาพทั่วไป ฉบับที่ 2.0

© กรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2563

บรรณาธิการ : แพทย์หญิงพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์

นายแพทย์ศุภเสก วิโรจนาภา

จัดทำาโดย : สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำาบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน สำานักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2563 จำานวน : 170 หน้า จำานวนที่พิมพ์ : 1,100 เล่ม

พิมพ์ที่ : บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำากัด ISBN: 978-616-11-4450-0

(3)

คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0

สำาหรับโรคจิตเวช โรคระบบประสาท และ

ความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด ในสถานบริการสุขภาพทั่วไป

mhGAP Intervention Guide

for mental, neurological and substance use disorders in non-specialized health settings

Version 2.0

(4)

ECP MC DEP PSY EPI CMH DEM SUB SUI OTH

การดูแลรักษาและเวชปฏิบัติที่สำาคัญ 5

แผนภูมิหลัก 15

โรคซึมเศร้า 19

โรคจิต 33

โรคลมชัก 51

ความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมในเด็กและวัยรุ่น 69

โรคสมองเสื่อม 93

ความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด 105

การทำาร้ายตนเอง/การฆ่าตัวตาย 131

ปัญหาสุขภาพจิตที่สำาคัญอื่น ๆ 141

คำานำา

กิตติกรรมประกาศ

บทนำา 1

วิธีการใช้คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2

สารบัญ คู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0

การนำา mhGAP-IG ไปใช้ 151

อภิธานศัพท์ 159

(5)

คำานำา

โรคจิตเวช โรคระบบประสาท และความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด (mental, neurological and substance use disorders; MNS) นั้น มีความชุกสูง ก่อให้เกิดภาระโรคและ ความบกพร่องทางสุขภาพทั่วโลก และยังคงมีช่องว่างที่กว้างมากระหว่างศักยภาพและทรัพยากรของ ระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ อะไรคือความจำาเป็นเร่งด่วน และทรัพยากรที่มีอยู่สามารถลดภาระดังกล่าวได้

อย่างไร ประชากรกว่า 1 ใน 10 คน มีปัญหาสุขภาพจิต แต่บุคลากรสุขภาพมีเพียงร้อยละ 1 ที่ให้บริการ ด้านสุขภาพจิต ภาวะ MNS นี้ส่งผลกระทบที่สำาคัญต่อความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กและ ความสามารถของผู้ใหญ่ในการทำาหน้าที่ต่อครอบครัว การทำางาน และสังคมอย่างมาก

แผนกสุขภาพจิตและสารเสพติดขององค์การอนามัยโลก (WHO Department of Mental Health and Substance Abuse) ได้ตระหนักถึงความจำาเป็นในการจัดบริการสำาหรับผู้ที่มีภาวะ MNS รวมถึง ผู้ดูแล และเพื่อปิดช่องว่างระหว่างทรัพยากรที่มีอยู่กับความต้องการที่สูงมากต่อบริการเหล่านี้ จึงได้เสนอ โปรแกรมปฏิบัติการเพื่อลดช่องว่างทางสุขภาพจิต (Mental Health Gap Action Program; mhGAP) ใน ค.ศ. 2008 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนข้อตกลงร่วมเชิงนโยบายของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ และผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ให้เพิ่มการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพื่อการดูแลภาวะ MNS และเพื่อให้

วิธีการดูแลช่วยเหลือที่จำาเป็นหลักครอบคลุมมากขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ตำ่าและรายได้ปานกลาง ด้วยวัตถุประสงค์เหล่านี้ mhGAP จึงได้เสนอแนวทางและเครื่องมือที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อก้าวไป สู่เป้าหมายของแผนปฏิบัติการสุขภาพจิต พ.ศ. 2556-2563 ขององค์การอนามัยโลก (Comprehensive Mental Health Action Plan 2013 – 2020)

คู่มือการดูแลรักษา mhGAP-IG สำาหรับภาวะ MNS ในสถานบริการสุขภาพทั่วไป (ไม่เฉพาะทาง) ได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 2010 เพื่อสนับสนุนการดำาเนินการตามโปรแกรมปฏิบัติการลดช่องว่างทางสุขภาพจิต (mhGAP) โดย mhGAP-IG เป็นเครื่องมือทางเทคนิคอย่างง่ายเพื่อให้เกิดการดูแลรักษาแบบบูรณาการ สำาหรับภาวะ MNS ที่สำาคัญโดยใช้แนวปฏิบัติเพื่อการตัดสินใจทางคลินิก เนื่องจากมีีการเผยแพร่แนวคิด

ที่่ไม่ถูกต้องในวงกว้างว่า วิธีการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพจิตทุกรูปแบบนั้นยุ่งยาก ซับซ้อน และต้องให้

บริการโดยบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น ข้อมูลงานวิจัยล่าสุดได้แสดงถึงความเป็นไปได้ในการจัด บริการบำาบัดรักษาด้วยยาและจิตสังคมบำาบัดในสถานบริการสุขภาพทั่วไปที่ไม่เฉพาะทาง mhGAP-IG ได้รับการนำาไปใช้อย่างอย่างกว้างขวางหลังการเผยแพร่ ใน ค.ศ. 2010 โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย เช่น กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษา องค์กร NGOs มูลนิธิสาธารณกุศล และนักวิจัยเพื่อขยาย บริการสุขภาพจิต mhGAP-IG ฉบับที่ 1.0 ได้รับการนำาไปใช้ในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 90 ประเทศ ในทุกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก และเอกสาร mhGAP ต่าง ๆ ได้รับการแปลมากกว่า 20 ภาษา รวมทั้งภาษาทางการขององค์การสหประชาชาติทั้งหกภาษาด้วย

หลังจากเผยแพร่คู่มือชุดแรกแล้วห้าปี ได้มีการปรับปรุงคู่มือ mhGAP-IG ให้ทันสมัยขึ้นตามหลักฐาน วิชาการใหม่ และตีพิมพ์ mhGAP-IG ฉบับปรับปรุงใน ค.ศ. 2015 ขณะนี้เรามีความยินดีที่จะนำาเสนอ mhGAP-IG ฉบับที่ 2 ที่ไม่เพียงแต่ทันสมัยขึ้น แต่ยังได้รับข้อเสนอแนะมากมายจากพื้นที่ดำาเนินการภาคสนาม เพื่อปรับปรุงคู่มือให้มีความชัดเจนและใช้งานได้ดีขึ้น

เราหวังว่า แนวปฏิบัตินี้จะยังคงเป็นเครื่องมือทางเทคนิคหลักเพื่อให้การดูแลและจัดบริการสำาหรับ ผู้ที่มีภาวะ MNS ทั่วโลก และทำาให้เราเข้าใกล้เป้าหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage) ได้ในที่สุด

Shekhar Saxena ผู้อำานวยการ

แผนกสุขภาพจิตและสารเสพติด องค์การอนามัยโลก

(6)

Vision and Conceptualization

Shekhar Saxena, Director, Department of Mental Health and Substance Abuse, WHO.

Project Coordination and Editing

Tarun Dua, Nicolas Clark, Neerja Chowdhary, Alexandra Fleischmann, Fahmy Hanna, Chiara Servili, Mark van Ommeren.

Contribution

Valuable material, help and advice was received from technical staff at WHO headquarters, staff from WHO regional and country offices and many international experts. These contributions have been vital to the update of mhGAP Guidelines and/or development of the mhGAP-IG Version 2.0.

WHO Headquarters

Valentina Baltag, John Beard, Alexander Butchart, Dan Chisholm, Nathalie Drew, Jane Ferguson, Berit Kieselbach, Nicola Magrini, Chris Mikton, Eyerusalem Kebede Negussie, Alana Officer, Anne Margriet Pot, Vladimir Poznyak, Geoffrey Reed, Dag Rekve, David Ross, Jotheeswaran Amuthavalli Thiyagarajan, Wilson Were.

WHO Regional and Country Offices

Nazneen Anwar, Regional Office for South East Asia; Florence Baingana, WHO Sierra Leone; Andrea Bruni, Regional Office for Americas; Anderson Chimusoro, WHO Zimbabwe; Manuel de Lara, WHO Turkey; Bahtygul Karriyeva, WHO Turkmenistan; R Kesavan, WHO Liberia; Devora Kestel, Regional Office for Americas; Lars Foddgard Moller, Regional Office for Europe; Maristela Goldnadel Monteiro, Regional Office for Americas; Matthijs Muijen, Regional Office for Europe; Julius Muron, WHO Liberia; Sebastiana Da Gama Nkomo, Regional Office for Africa; Jorge Jacinto Rodriguez, Regional Office for Americas; Khalid Saeed, Regional Office for Eastern Mediterranean; Caroline Saye, WHO Liberia; Yutaro Setoya, WHO Fiji; Xiao Sobel, Regional Office for Western Pacific; Saydah Taylor,

WHO Liberia; Salma Tlili, WHO Guinea; Xiangdong Wang, Regional Office for Western Pacific; Eyad Yanes, WHO Syria.

Key International Experts

Lindsey America-Simms, Kenneth Carswell, Elizabeth Centeno Tablante, Melissa Harper, Sutapa Howlader, Kavitha Kolappa, Laura Pacione, Archana A. Patel, Allie Sharma, Marieke van Regteren Altena.

Administrative Support

Adeline Loo, Cecilia Ophelia Riano.

Interns

Farnoosh Ali, Lakshmi Chandrasekaran, Paul Christiansen, Anais Collin, Aislinne Freeman, Anna Fruehauf, Ali Haidar, Huw Jarvis, Steven Ma, Emma Mew, Elise Paul, Charlotte Phillips, Pooja Pradeeb, Matthew Schreiber.

Technical Reviewers

Inputs and feedback were received from the following international experts for the development of updated mhGAP Guidelines and/or mhGAP-IG Version 2.0.

Albert Akpalu, College of Health Sciences, University of Ghana and Epilepsy Society of Ghana, Ghana; Sophia Achab*, WHO Collaborating Centre, University of Geneva/Hôpitaux Universitaires de Genève (HUG), Geneva, Switzerland; Emiliano Albanese*, WHO Collaborating Centre, University of Geneva/HUG, Geneva, Switzerland; Robert Ali*, Drug and Alcohol Services South Australia (DASSA), WHO Collaborating Centre for the Treatment of Drug and Alcohol Problems, University of Adelaide, Australia; Fredrick Altice, Yale University School of Medicine and School of Public Health, New Haven, USA; José Ayuso-Mateos, Universidad Autonoma de Madrid and CIBER, Spain; Corrado Barbui*, WHO Collaborating Centre for Research and Training in Mental Health and Service Evaluation, University of Verona, Italy; Gretchen Birbeck, Michigan State University,

Michigan, USA; Anja Busse, United Nations Office on Drugs and Crime, Vienna, Austria; Vladimir Carli*, National Centre for Suicide Research and Prevention of Mental Ill-Health (NASP), Karolinska Institute, Stockholm, Sweden; Sudipto Chatterjee*, Parivartan Trust and Sangath, India; Dixon Chibanda, University of Zimbabwe, Friendship Bench Project, Harare, Zimbabwe; Janice Cooper, Carter Center, Liberia; Wihelmus (Pim) Cuijpers*, Vrije University, Amsterdam, Netherlands; Gauri Divan, Sangath, Goa, India; Christopher Dowrick*, Institute of Psychology, Health and Society, University of Liverpool, Liverpool, UK; Joshua Duncan, Building Back better Project, CBM, Sierra Leone; Julian Eaton*, CBM International, Togo and London School of Hygiene and Tropical Medicine, UK; Rabih El Chammay, Ministry of Health,

Beirut, Lebanon; Peter Hughes, Royal College of Psychiatrists, UK;

Asma Humayun*, Meditrina Health Care, Islamabad, Pakistan; Gabriel Ivbijaro*, Wood Street Medical Centre, London, UK; Nathalie Jette*, Hotchkiss Brain Institute and O’Brien Institute for Public Health, University of Calgary, Canada; Lynne Jones, National Health Service, UK; Marc Laporta, Department of Psychiatry, McGill Montreal, WHO PAHO Collaborating Center for Research and Douglas Mental Health University Institute, Montreal, Canada; Anita Marini, Cittadinanza NGO, Rimini, Italy; Farrah Mateen, Massachusetts General Hospital, Harvard Medical School, USA; Zhao Min, Shanghai* Drug Abuse Treatment Centre, Shanghai Jiaotong University School of Medicine, Shanghai, China; Charles Newton*, Kenya Medical Research Institute, Kilifi, Kenya; Olayinka Omigbodun*, Centre for Child and Adolescent Mental Health (CCAMH), University College Hospital, Ibadan, Nigeria;

Akwasi Osei*, Ministry of Health, Accra, Ghana; Amrita Parekh, Dasra, Mumbai, India; Alfredo Pemjean*, Departamento de Salud Mental, Ministerio de Salud, Santiago, Chile; Hemamali Perera, Faculty of Medicine, University of Colombo, Sri Lanka; Michael Phillips, Suicide Research and Prevention Center and Research Methods Consulting Center, Shanghai Mental Health Center, Shanghai Jiaotong University School of Medicine and WHO Collaborating Center for Research and Training in Suicide Prevention, Beijing Huilongguan Hospital,

กิตติกรรมประกาศ

(7)

Beijing, China; Martin Prince*, Institute of Psychiatry, Psychology and Neuroscience, King’s College, London, UK; Atif Rahman,* Institute of Psychology, Health & Society, University of Liverpool, Liverpool, UK; Richard Rawson*, University of California at Los Angeles Integrated Substance Abuse Programs, California, USA; Tahilia Rebello, Columbia University, USA; Rajesh Sagar, All India institute of Medical Sciences, New Delhi, India; Ley Sander, UCL Institute of Neurology, London, UK; Alison Schafer, World Vision, Nairobi, Kenya; Kunnukattil S Shaji, Government Medical College, Thrissur, India; Pratap Sharan*, All India Institute of Medical Sciences, New Delhi, India; Vandad Sharifi Senejani, Tehran University of Medical Sciences, Tehran, Islamic Republic of Iran; Kolou Simliwa Dassa*, Ministry of Health, Lome, Togo; Leslie Snider, Peace in Practice, Amsterdam, Netherlands; Chhit Sophal, Ministry of Health, Cambodia; Jessica Maria-Violanda Spagnolo, School of Public Health, University of Montreal, Montreal, Canada; Emmanuel Streel, Public Mental Health and Substance Use Consultant, Belgium; Scott Stroup, Columbia University College of Physicians and Surgeons, New York State Psychiatric Institute, New York, USA; Athula Sumathipala, Keele University, UK; Kiran Thakur, Johns Hopkins Hospital, Baltimore, USA; Rangaswamy Thara, Schizophrenia Research Foundation, India; Graham Thornicroft* Institute of Psychiatry, Psychology and Neuroscience, King’s College London, UK; Mark Tomlinson, Stellenbosch University, South Africa; Nyan Tun, Yangon General Hospital, Myanmar; Carmen Valle, CBM, Freetown, Sierra Leone; Pieter Ventevogel, United Nations High Commissioner for Refugees, Geneva, Switzerland; Inka Weissbecker*, International Medical Corps, Washington, USA; Mohammad Taghi Yasamy, Geneva, Switzerland; Lakshmi Vijayakumar*, SNEHA, Suicide Prevention Centre, Chennai, India; Abe Wassie, Department of Psychiatry, Faculty of Medicine Addis Ababa University and Amanuel Hospital, Ethiopia.

* mhGAP Guideline Update Development Group Members

Additional inputs were provided by following reviewers through contributing to pilot testing, feedback or focus group discussions:

Helal Uddin Ahmed, Bangladesh; Suzan Akwii Otto, Uganda; Robinah Alambuya, Uganda; Latifa Saleh Al Harbi, Saudi Arabia; Alaa Iddin Al Masri, Jordan; Laila Alnawaz, Turkey; Ebtisam Al Rowdhan, Saudi Arabia; Roseline Aposu, Nigeria; Manar Awwad, Jordan; Raul Ayala, Mexico; Namsenmoh Aymar, Central African Republic; Madhur Basnet, Nepal; Gertrude Bayona, Uganda; Rose Beaugrand, Sierra Leone; Tadu Bezu, Ethiopia; Gaurav Bhattarai, Nepal; Jihane Bou Sleiman, Lebanon; Brian Byekwaso, Uganda; Jules Claude Casumba, South Sudan; Alice Clement, Nigeria; Gretel Acevedo de Pinzon, Panama; Barkon Dwah, Liberia; Mufumba Emmanuel, Uganda; Olivia Gabula, Uganda; Kamal Gautam, Nepal; Renee Gerritzen, Nepal;

Shree Ram Ghimire, Nepal; Sudip Ghimre, Nepal; Ijeh Ter Godwin, Nigeria; Kebeh Selma Gorpudolo, Liberia; Teen K. Grace, Nigeria;

Georgina Grundy-Campbell, UK and Turkey; Esubalew Haile, South Sudan; Tayseer Hassoon, Syria; Mahmoud Hegazy, Turkey; Zeinab Hijazi, Lebanon; Fred Kangawo, Uganda; Sylvester Katontoka, Zambia; Fred Kiyuba, Uganda; Humphrey Kofie, Ghana; Moussa Kolie, Guinea; Samer Laila, Turkey; Richard Luvaluka, Uganda; Paul Lwevola, Uganda; Scovia Makoma, Uganda; João Marçal-Grilo, UK; Soo Cecilia Mbaidoove, Nigeria; Colette McInerney, Laos; Saeed Nadia, UK; Ruth Nakachwa, Uganda; Juliet Namuganza, Uganda; Emily Namulondo, Uganda; Margaret Namusobya, Uganda; Amada N. Ndorbor, Liberia;

Sheila Ndyanabangi, Uganda; Joel Ngbede, Nigeria; Fred Nkotami, Uganda; Zacharia Nongo, Nigeria; Emeka Nwefoh, Nigeria; Philip Ode, Nigeria; Mary Ogezi, Nigeria; Martha Okpoto, Nigeria; Sagun Ballav Pant, Nepal; Monica Peverga, Nigeria; Mapa H Puloka, Kingdom of Tonga; Muhannad Ramadan, Jordan; Nick Rose, UK; Brigid Ryan, Australia; Joseph s. Quoi, Liberia; Nidhal Saadoon, Turkey; Latifa Saleh, Kingdom of Saudi Arabia; Dawda Samba, Gambia; Nseizere Mitala Shem, Uganda; Michel Soufia, Lebanon; Shadrach J. Suborzu

Samnieng Thammavong, Laos; Manivone Thikeo, Laos; Joshua Tusaba, Uganda; Chanthala Vinthasai, Laos; Anna Walder, Sierra Leone; Abdulwas Yusufi, Ethiopia.

The following experts contributed to reviewing the updated mhGAP guidelines as external reviewers:

Atalay Alem, Addis Ababa University, Ethiopia; Laura Amato, Cochrane Collaborative Drugs and Alcohol Review Group, Italy;

Satinder Aneja, Lady Hardinge Medical College, India; Pierre Bastin, Clinique Beaulieu, Switzerland; Gayle Bell, Institute of Neurology, University College London, UK; Donna Bergen, Rush University Medical Centre, Illinois, USA; José Bertolote, Botucatu Medical School, Brazil; Irene Bighelli, Verona University, Italy; Stephanie Burrows, Centre hospitalier de l’université de Montréal, Canada;

Erico Castro-Costa, FIOCRUZ (Oswaldo Cruz Foundation), Brazil; Tony Charman, Institute of Psychiatry Psychology and Neuroscience King’s College, UK; Marek Chawarski, Yale School of Medicine, USA; Vera da Ros, Rede Brasileira de Redução de Danos e Direitos Humanos, Brazil;

Carlos Felipe D´Oliveira, National Association for Suicide Prevention, Brazil; Kieren Egan, WHO Collaborating Centre for Mental Health, HUG, Switzerland; Eric Emerson, Centre for Disability Research and Policy, University of Sydney, Australia; Saeed Farooq, Department of Psychiatry, Lady Reading Hospital, Pakistan; Melissa Gladstone, University of Liverpool, UK; Charlotte Hanlon, Addis Ababa University, Ethiopia; Angelina Kakooza, Makerere University, Uganda; Rajesh Kalaria, University of Newcastle, UK; Eirini Karyotaki, Vrije University, Netherlands; Mark Keezer, University College London, UK; Nicole Lee, Turning Point, Australia; Valentina Lemmi, London School of Economics, UK; Harriet MacMillan, McMaster University, Canada;

Carlos Martinez, Ministry of Health, Argentina; Daniel Maggin, University of Illinois, USA; Silvia Minozzi, Cochrane Collaborative Drugs and Alcohol Review Group, Italy; Zuzana Mitrova, Cochrane

(8)

Ogunniy, University College Hospital, Nigeria; Denis Padruchny, Information and Training Centre of Psychiatry and Narcology, Belarus; Amrita Parekh, Public Health Foundation of India; Khara Sauro, University of Calgary, Canada; Shoba Raja, Basic Needs, India;

Brian Reichow, Child Study Centre, Yale School of Medicine, USA;

Maria Luisa Scattoni, Istituto Superiore di Sanità, Italy; Suvasini Sharma, Lady Hardinge Medical College and associated Kalawati Saran Children’s Hospital, India; Pratibha Singhi, Post Graduate Institute of Medical Education and Research, India; Lorenzo Tarsitani, Policlinico Umberto Sapienza University of Rome, Italy; Wietse Tol, Peter Alderman Foundation, Uganda; Sarah Skeen, Stellenbosch University, South Africa; Manjari Tripathi, All India Institute of Medical Sciences, India; Ambros Uchtenhagen, University of Zurich, Switzerland; Chris Underhill, Basic Needs, UK; Anna Williams, Institute of Psychiatry, Psychology and Neuroscience King’s College, UK.

Production Team

Graphic design and layout: Erica Lefstad

Printing Coordination: Pascale Broisin, Frédérique Claudie Rodin, WHO, Geneva.

Financial support

The following organizations contributed financially to the development and production of the Intervention Guide:

Autism Speaks, USA; CBM; Fountain House Inc.; Government of Japan;

Government of the Republic of Korea; Government of Switzerland;

National Institute of Mental Health, USA; Syngenta.

คณะผู้จัดทำาภาษาไทย

สำานักวิชาการสุขภาพจิต

1. แพทย์หญิงพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต

2. แพทย์หญิงกุสุมาวดี คำาเกลี้ยง รองผู้อำานวยการสำานักวิชาการสุขภาพจิต

3. นางสุชาดา สาครเสถียร นักกิจกรรมบำาบัด

4. นางวรวรรณ จุฑา นักวิชาการสาธารณสุขชำานาญการพิเศษ

5. ดร.โสฬวรรณ อินทสิทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำานาญการ

6. นางสุภาวดี นวลมณี นักจิตวิทยาคลินิก

7. นางลือจรรยา ธนภควัต นักวิชาการสาธารณสุขชำานาญการ 8. นางสาวสุวิมล อินทร์เชื้อ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

9. นายอรรถกร บุตรชุมแสง นักวิชาการสาธารณสุข

10. นายจาฏุพจน์ พรมสีดา นักวิชาการศึกษาพิเศษ

11. นายภพธร วุฒิหาร นักสังคมสงเคราะห์

โรงพยาบาลศรีธัญญา

แพทย์ประจำาบ้าน สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน

1. นายแพทย์ศุภเสก วิโรจนาภา นายแพทย์ปฏิบัติการ 2. นายแพทย์ธัชกฤษฎิ์ อมรชีวิน นายแพทย์ปฏิบัติการ 3. นายแพทย์ธุวชิต เกรียงตันติวงศ์ นายแพทย์ปฏิบัติการ 4. แพทย์หญิงอภิชญา พลรักษ์ นายแพทย์ปฏิบัติการ

และแพทย์ผู้สอบหนังสืออนุมัติความรู้ความชำานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงสุขภาพจิตชุมชน ปี 2563 ทุกท่าน

(9)

บทนำา

(INTRODUCTION)

(10)

ความเป็นมาของโปรแกรมปฏิบัติการเพื่อลดช่องว่าง ทางสุขภาพจิต (Mental Health Gap Action Program; mhGAP)

จากข้อมูล Mental Health Atlas ขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2557 ระบุว่าประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 45 อยู่ในประเทศที่มีจิตแพทย์น้อยกว่า 1 คน ต่อแสนประชากร ส่วนอายุรแพทย์ประสาทวิทยามีจำานวนน้อยกว่านี้มาก แสดงให้เห็นว่า หากการจัดบริการสำาหรับผู้ที่มีโรคจิตเวช โรคระบบประสาท และความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด (mental, neurological and substance use disorders; MNS) ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จะส่งผลให้ประชากรนับล้านคนไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำาเป็นได้ หรือแม้

มีการจัดบริการ แต่วิธีการดูแลรักษายังไม่เป็นไปตามหลักฐานวิชาการ หรือ คุณภาพบริการยังไม่ดีพอ ดังนั้น โปรแกรมปฏิบัติการเพื่อลดช่องว่างทาง สุขภาพจิต (mhGAP) จึงได้รับการพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย การดูแลรักษาภาวะ MNS

โปรแกรม mhGAP ประกอบด้วย วิธีการเพื่อป้องกันและดูแลรักษาภาวะ MNS ที่สำาคัญลำาดับต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานประสิทธิผลและความเป็นไปได้

ในการขยายระบบการดูแลนี้ในประเทศที่มีรายได้ตำ่าและปานกลาง โรคที่สำาคัญ คัดเลือกจากโรคที่แสดงภาระโรคในระดับสูง (ทั้งความเจ็บป่วย การเสียชีวิต และความพิการ) ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐศาสตร์สูง หรือเกี่ยวข้องกับ การละเมิดสิทธิมนุษยชน โรคที่สำาคัญเป็นลำาดับต้น ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิต โรคลมชัก โรคสมองเสื่อม ความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติด ความผิดปกติทางจิตใจและพฤติกรรมในเด็กและวัยรุ่น คู่มือ mhGAP-IG (mhGAP-Intervention Guide) นี้จัดเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนแนวทาง การดำาเนินงานตามโปรแกรมปฏิบัติการเพื่อลดช่องว่างทางสุขภาพจิต (mhGAP) ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์สำาหรับสถานบริการสุขภาพทั่วไปที่ไม่เฉพาะทาง การนำาคู่มือ mhGAP-IG ฉบับที่ 1 (mhGAP-IG 1.0) ไปใช้โดยประเทศสมาชิก ขององค์การอนามัยโลกและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ แสดงให้เห็นความต้องการ เครื่องมือนี้อย่างชัดเจน คู่มือฉบับนี้ได้นำาไปใช้ในระดับประเทศผ่านช่องทาง ที่หลากหลาย ที่พบบ่อยที่สุดคือใช้เป็นเครื่องมือหลักในกระบวนการขยายบริการ สุขภาพจิตระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ หรือใช้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หรือใช้เป็น เอกสารอ้างอิงในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรี และหลัง ปริญญาตรีสำาหรับบุคลากรสุขภาพให้ทันสมัยขึ้น

การพัฒนาคู่มือการดูแลรักษา mhGAP ฉบับที่ 2.0 (mhGAP-IG 2.0)

โปรแกรม mhGAP ฉบับปรับปรุงและข้อเสนอแนะรวมทั้งผลการประเมินจาก ผู้ใช้คู่มือ mhGAP-IG 1.0 ได้นำามาทบทวนและพัฒนาคู่มือ mhGAP-IG ฉบับปรับปรุงใหม่นี้ โดยแนวทางโปรแกรม mhGAP ฉบับปรับปรุงเป็นตาม ขั้นตอนระเบียบวิธีการพัฒนาแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก ได้แก่

การทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ การสังเคราะห์ และพัฒนาข้อเสนอแนะผ่าน การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนานาประเทศ ทั้งในฐานะผู้เชี่ยวชาญหรือ ฐานะองค์กร/สถาบันตามประสบการณ์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์ นักวิจัย ผู้จัดการโครงการ ผู้กำาหนดนโยบาย และผู้ใช้บริการ ได้จัดทำาและเผยแพร่

ใน ค.ศ. 2015 รายละเอียดระเบียบวิธีการและข้อเสนอแนะที่ปรับปรุงศึกษา ได้ใน mhGAP Evidence Resource Centre http://www.who.int/

mental_health/mhgap/evidence/en/

ข้อเสนอแนะได้รับจากผู้เชี่ยวชาญทั่วทุกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ที่มีประสบการณ์ช่วงสามปีที่ผ่านมา ในการใช้ชุดคู่มือ mhGAP-IG เพื่อฝึกอบรม บุคลากรสุขภาพทั่วไป (ที่ไม่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง) และเพื่อจัดบริการภาวะ MNS ในหลายพื้นที่ โดยร่างแรกของคู่มือ mhGAP-IG 2.0 ตามความเห็น ผู้เชี่ยวชาญและพื้นที่นี้ ได้ส่งเวียนให้กลุ่มผู้ทบทวนในวงกว้างทั่วโลก เพื่อให้

ได้ความคิดเห็นที่แตกต่างผ่านกระบวนการทบทวนที่เข้มข้นนี้ กระบวนการ นี้ได้ผนวกรวมข้อคิดเห็นที่หลากหลายจากผู้ใช้งานปลายทาง ทั้งบุคลากร สุขภาพทั่วไปและผู้ที่มีภาวะ MNS จากทุกภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานปลายทางรวบรวมผ่านแบบสอบถามและการสนทนา กลุ่มในพื้นที่ ซึ่งประสานงานโดยองค์การอนามัยโลก ข้อมูลจากกลุ่มผู้ทบทวน คู่มือในกระบวนการนี้ได้นำามาผนวกรวมไว้ในคู่มือ mhGAP-IG 2.0 ฉบับนี้

นอกจากนี้ ผู้ใช้คู่มือ mhGAP-IG หลายท่าน ได้เน้นยำ้าถึงข้อจำากัดการใช้งาน ในรูปแบบกระดาษ และแนะนำาให้มีการจัดทำาคู่มือฯ ในรูปแบบโต้ตอบอิเล็กโทรนิค หรือผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเพิ่มความสะดวกการใช้งาน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นคู่มือ mhGAP-IG 2.0 จึงได้ออกแบบและ จัดทำาเป็นชุดให้สามารถใช้งานได้หลายช่องทาง ทั้งแบบกระดาษ แบบอิเล็กทรอนิกส์

และแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดย e-mhGAP-IG อยู่ในระหว่างการพัฒนาและ จะมีการเผยแพร่ในเร็ว ๆ นี้

เมื่อได้รวมข้อเสนอแนะที่หลากหลายในโปรแกรม mhGAP ค.ศ. 2015 ฉบับปรับปรุง และโอกาสใหม่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ประเด็นสำาคัญในการ ปรับปรุงคู่มือ mhGAP-IG 2.0 ได้แก่

ปรับปรุงเนื้อหาในหลายบทตามหลักฐานวิชาการใหม่ ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นจากผู้ใช้โปรแกรม mhGAP

ใช้รูปแบบอัลกอริทึมแนวตั้ง (vertical algorithm model) เพื่อให้

การประเมินทางคลินิกสะดวกและง่ายขึ้น

เพิ่มอัลกอริทึมใหม่เรื่องการติดตามการรักษาในทุกบท

เพิ่มบทใหม่ 2 บท ได้แก่ 1) การดูแลและเวชปฏิบัติที่สำาคัญ (Essential care & practice) โดยเป็นการปรับปรุงจากฉบับที่ 1 ในบทหลักการ ทั่วไปในการดูแล (General Principles of Care) และ 2) การนำาคู่มือไปใช้

(Implementation module)

ปรับปรุงบทโรคจิต (เป็นการรวมทั้งโรคจิตและโรคอารมณ์สองขั้ว) ความผิด ปกติทางจิตใจและพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น (ครอบคลุมความผิดปกติ

ด้านพัฒนาการ พฤติกรรม และอารมณ์) และความผิดปกติจากการใช้

สารเสพติด (รวมทั้งความผิดปกติทั้งจากการดื่มสุราและการใช้สารเสพติด)

(11)

การใช้คู่มือ mhGAP-IG ฉบับที่ 2.0

คู่มือ mhGAP-IG เป็นแนวทางแบบจำาลอง ที่สำาคัญคือจะต้องได้รับการปรับให้

เฉพาะกับสถานการณ์ของประเทศหรือพื้นที่นั้น ๆ ผู้ใช้อาจเลือกเพียงบางโรค ที่สำาคัญหรือบางวิธีการดูแลรักษาเพื่อปรับและนำาไปใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบท ที่แตกต่างในด้านความชุกของปัญหาและทรัพยากรที่มีอยู่ การประยุกต์คู่มือเป็น สิ่งสำาคัญทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าได้ครอบคลุมโรคต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระโรคสูงที่สุด ในประเทศ และคู่มือ mhGAP-IG 2.0 เหมาะกับสภาพท้องถิ่นที่มีผลต่อการรักษา ผู้ที่มีภาวะ MNS ในสถานพยาบาล กระบวนการประยุกต์นี้ควรใช้เป็นโอกาส พัฒนาข้อตกลงร่วมในประเด็นทางเทคนิคของโรคต่าง ๆ ที่ต้องการการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสียหลักระดับประเทศ การประยุกต์หมายรวมถึงการแปลภาษา และการตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการดูแลรักษานั้นได้รับการยอมรับตามบริบท สังคมวัฒนธรรม และเหมาะสมกับระบบสุขภาพในพื้นที่

กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานคู่มือ mhGAP–IG คือ บุคลากรสุขภาพทั่วไป (ที่ไม่เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง) ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ โดยผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ทั่วไป พยาบาล และบุคลากรสุขภาพอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้ว่า คู่มือ mhGAP–IG 2.0 จะใช้สำาหรับบุคลากรสุขภาพทั่วไป (ที่ไม่เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง) เป็นหลัก แต่บุคลากรเฉพาะทางสุขภาพจิตสามารถนำาไปใช้

ในการทำางานได้เช่นกัน นอกจากนั้น บุคลากรเฉพาะทางสุขภาพจิตยังมีบทบาท ที่สำาคัญและมีบทบาทในการฝึกอบรม สนับสนุน และดูแลให้คำาปรึกษา และคู่มือ mhGAP–IG 2.0 นี้ จะมีข้อบ่งชี้ว่าเมื่อใดจำาเป็นต้องปรึกษาหรือส่งต่อให้บุคลากร เฉพาะทางสุขภาพจิตเพื่อเพิ่มการใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลนให้เป็นประโยชน์

จิตแพทย์และบุคลากรสุขภาพจิตยังได้ประโยชน์จากการฝึกอบรมโปรแกรม ในแง่มุมด้านสาธารณสุขและการจัดระบบบริการอีกด้วย ตามหลักคิดแล้ว การนำาคู่มือ mhGAP-IG ไปใช้จะต้องมีการประสานความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ ด้านสาธารณสุขและผู้บริหารโครงการ และทำาให้จิตแพทย์และบุคลากรสุขภาพจิต มีพื้นฐานด้านสาธารณสุขด้วย ดังนั้น การฝึกอบรมเพื่อใช้คู่มือ mhGAP–IG จะดำาเนินการได้ดีที่สุด หากผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเชิงระบบ ที่ประกอบด้วยผู้วางแผนด้านสุขภาพ ผู้บริหารโครงการ และผู้กำาหนดนโยบาย เพื่อให้การดูแลรักษาตามคู่มือนี้ได้รับการสนับสนุนโดยโครงสร้างและทรัพยากร ที่จำาเป็น เช่น มีบัญชียาหลักพร้อมใช้ นอกจากนี้ การฝึกอบรมคู่มือ mhGAP–IG จำาเป็นต้องมีการทำางานร่วมกันไปกับกลไกที่มีอยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า

วิธีการใช้คู่มือ mhGAP-IG ฉบับที่ 2.0

คู่มือ mhGAP-IG เป็นแนวทางแบบจำาลองตัวอย่าง ที่สำาคัญคือจะต้องได้รับ การปรับให้เฉพาะกับสถานการณ์ของประเทศหรือพื้นที่นั้น ๆ ผู้ใช้อาจเลือก เพียงบางโรคที่สำาคัญหรือบางวิธีการดูแลรักษา เพื่อปรับและนำาไปใช้ ทั้งนี้

ขึ้นอยู่กับบริบทของตน

คู่มือ mhGAP-IG 2.0 เริ่มต้นด้วยบท “การดูแลรักษาและเวชปฏิบัติที่สำาคัญ (Essential Care & Practice)” เป็นบทที่ว่าด้วยแนวปฏิบัติที่ดีเชิงคลินิก และแนวปฏิบัติทั่วไป เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการด้านสุขภาพจิต ผู้ใช้คู่มือ mhGAP-IG ทุกคนควรทำาความ คุ้นเคยกับหลักการเหล่านี้และปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำาได้

คู่มือ mhGAP-IG ได้รวม “แผนภูมิหลัก (Master Chart)” ที่ให้ข้อมูล ลักษณะอาการที่พบบ่อยของโรคที่สำาคัญ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้แพทย์

ไปยังบทที่เกี่ยวข้อง โดยสภาวะที่รุนแรงที่สุดควรจะได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นลำาดับแรก นอกจากนี้ คู่มือ mhGAP-IG 2.0 ยังได้เพิ่ม แผนภูมิหลัก–อาการฉุกเฉินของภาวะ MNS ซึ่งในบทนี้ได้เพิ่มวิธีการ บ่งชี้ว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและทิศทางแนวทางการดูแลรักษา คู่มือนี้จัดเรียงเป็นบทตามรายโรคที่สำาคัญ เป็นเครื่องมือเพื่อการตัดสินใจ

ทางคลินิกและการดูแลรักษา ในแต่ละบทจะแยกออกเป็นสีต่าง ๆ เพื่อให้

แยกแยะได้ง่าย ในแต่ละบทจะมีบทนำาในตอนต้นที่จะอธิบายโรคหรือภาวะ ที่ครอบคลุมในบทนั้น และสรุปภาพรวมสั้น ๆ ถึงขั้นตอนการประเมิน และการดูแลรักษาหลัก

ในแต่ละบท ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การประเมิน (Assessment) การดูแลรักษา (Management) การติดตามการรักษา (Follow-up)

การประเมิน (The Assessment section) จะนำาเสนอในรูปแบบ กรอบแผนผัง ที่แสดงประเด็นในการประเมินเชิงคลินิกหลายประเด็น โดยในแต่ละบทจะเริ่มด้วยลักษณะอาการนำามาที่พบบ่อยที่น่าสงสัยว่า จะเกี่ยวข้องกับโรค/ภาวะนี้ และตามด้วยชุดคำาถามเพื่อการประเมิน ทางคลินิก ที่ต้องการคำาตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เรียงลำาดับลงมา ซึ่งจะ ช่วยชี้นำาให้ผู้ใช้คู่มือไปยังคำาแนะนำาเพิ่มเติมจนไปถึงการประเมินทางคลินิก ขั้นสุดท้าย หลักสำาคัญคือผู้ใช้คู่มือ mhGAP-IG จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอน การประเมินด้านบนสุดและลงมาทีละขั้นตอนผ่านจุดตัดสินใจทั้งหมด และไปยังการประเมินทางคลินิกแบบครอบคลุมและแผนวิธีการดูแลรักษา ในที่สุด

การดูแลรักษา (The Management section) ประกอบด้วย รายละเอียดวิธีการดูแลรักษาที่จะให้ข้อมูลวิธีการดูแลรักษาในแต่ละ สภาวะที่ประเมินได้ โดยจะรวมทั้งวิธีการดูแลช่วยเหลือทางจิตสังคมและ การรักษาด้วยยาตามความเหมาะสม

การติดตามการรักษา (The Follow-up section) เป็น

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการคงความสัมพันธ์ทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง และคำาแนะนำาโดยละเอียดในการนัดหมายติดตาม

คู่มือ mhGAP-IG 2.0 ใช้ชุดของสัญลักษณ์เพื่อเน้นประเด็นต่าง ๆ ในบท รายการและคำาอธิบายสัญลักษณ์จะนำาเสนอในหน้าถัดไป ตลอดทั้งบทจะ มีการเน้นคำาแนะนำาทางคลินิกที่สำาคัญ (key clinical tips)

ในบทการนำาคู่มือ mhGAP-IG ไปใช้ (Implementation of mhGAP-IG) จะมีการสรุปขั้นตอนวิธีการนำาคู่มือไปใช้

คำาอภิธานศัพท์ (glossary) ที่ใช้ในคู่มือ mhGAP-IG 2.0 อยู่ในส่วนท้าย ของคู่มือ

(12)

สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่แสดงด้วยภาพ

เสร็จสิ้น จบบทนี้

ไปที่หัวข้ออื่นในบทนี้

กลับไปที่ขั้นตอนวิธีการ (algorithm) หลังจากทำาตามข้อแนะนำา คำาแนะนำาทางคลินิก

ส่งต่อไปโรงพยาบาล

ผู้ใหญ่

ผู้สูงอายุ

ข้อควรระวัง ห้าม

ข้อมูลเพิ่มเติม

การประเมิน การดูแลรักษา

การติดตามการรักษา

ยา

การดูแลช่วยเหลือทางจิตสังคม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนการประเมิน เด็ก/วัยรุ่น

หญิงวัยเจริญพันธุ์ ตั้งครรภ์

หรือให้นมบุตร

1

NO YES

ไปที่

PROTOCOL 1

(13)

การดูแลรักษาและเวชปฏิบัติที่สำาคัญ

(Essential Care & Practice; ECP)

บทนี้แสดงให้เห็นถึงหลักการดูแลรักษาที่สำาคัญสำาหรับผู้เข้ารับ บริการสุขภาพทุกคน รวมถึงผู้ที่มีภาวะ MNS และผู้ดูแลรักษา ทางคลินิก ส่วนแรกประกอบด้วยหลักการทั่วไปของการดูแล ที่มีจุดประสงค์เพื่อเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้เข้ารับบริการ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้ดูแล และสร้างความมั่นใจว่าการให้บริการจะปราศจากการตัดสิน ตีตรา และมีบรรยากาศที่เกื้อกูล ส่วนที่สองครอบคลุมถึง แนวปฏิบัติที่สำาคัญทางสุขภาพจิตและมีเป้าหมายเพื่อให้

องค์ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการ ในการประเมินและดูแลรักษา ภาวะ MNS ในสถานบริการสุขภาพทั่วไปที่ไม่เฉพาะทาง

ก. หลักการทั่วไป

– ใช้ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ – ให้เกียรติและความเคารพ

ข. แนวปฏิบัติที่สำาคัญทางสุขภาพจิต – ประเมินสุขภาพกาย

– ประเมินภาวะ MNS

– การดูแลรักษาภาวะ MNS

(14)

ESSENTIAL CARE & PRACTICE 6 ECP

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้บุคลากรสุขภาพให้การบริการที่มีคุณภาพ แก่ผู้ใหญ่ เด็ก และวัยรุ่นที่มีภาวะ MNS ได้ โดยคำานึงถึงทักษะและหลักการ ต่าง ๆ ต่อไปนี้

หลักการสื่อสารที่ 1

สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการสื่อสารแบบเปิด

พบผู้รับบริการในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว

ให้การต้อนรับและแนะนำาตัวอย่างเหมาะสมตามบริบทวัฒนธรรม สบตา ใช้ภาษากาย และแสดงออกทางสีหน้า เพื่อสร้างความไว้วางใจ ชี้แจงว่าสิ่งที่พูดคุยกันจะถูกเก็บไว้เป็นความลับและไม่เปิดเผยก่อนจะได้รับ

อนุญาต

สัมภาษณ์ผู้มารับบริการด้วยความเป็นส่วนตัว แม้จะมีผู้ดูแลมาด้วย ยกเว้น เด็กเล็ก และต้องได้รับอนุญาตก่อนจะบอกข้อมูลแก่ผู้ดูแล

ขอเจ้าหน้าที่ผู้หญิงหรือผู้ดูแลอยู่ด้วย หากต้องสัมภาษณ์ผู้รับบริการที่เป็น เพศหญิงที่อายุน้อย

หลักการสื่อสารที่ 2 สร้างความมีส่วนร่วม

ให้ผู้รับบริการ (หรือครอบครัวและผู้ดูแลภายใต้การยินยอมของผู้รับบริการ) มีส่วนร่วมในการประเมินและการดูแลรักษาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้สูงอายุ

หลักการสื่อสารที่ 3 เริ่มจากการฟัง

ฟังอย่างตั้งใจ เอาใส่ใจ และเข้าใจ ไม่ขัดเวลาพูด

ถ้าประวัติไม่ชัดเจน ให้อดทนรอถามเพื่อความกระจ่าง

ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเมื่อสื่อสารกับเด็ก และถามเกี่ยวกับความสนใจของเด็ก เช่น ของเล่น เพื่อน โรงเรียน เป็นต้น

แสดงความเข้าใจความรู้สึกและสถานการณ์เมื่อต้องสื่อสารกับวัยรุ่น

หลักการสื่อสารที่ 4

แสดงท่าทีเป็นมิตร เคารพ และไม่ตัดสิน ตลอดการสัมภาษณ์

แสดงความเคารพ

อย่าตัดสินจากพฤติกรรมและรูปลักษณ์ภายนอก แสดงท่าทีสงบและอดทน

หลักการสื่อสารที่ 5 ใช้ทักษะการสื่อสารที่ดี

ใช้ภาษาที่ง่าย ชัดเจน และกระชับ

ใช้คำาถามปลายเปิด สรุปความ และถามให้เกิดความกระจ่าง สรุปและยำ้าประเด็นสำาคัญ

อนุญาตให้ผู้รับบริการถามเกี่ยวกับข้อมูลที่ให้

หลักการสื่อสารที่ 6

ตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่อ่อนไหว เมื่อผู้รับบริการ เปิดเผยประสบการณ์ที่ยากลำาบาก เช่น การล่วงละเมิด ทางเพศ ความรุนแรง หรือการทำาร้ายตัวเอง

แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ปฏิกิริยาอารมณ์ที่อ่อนไหวอย่างมากในประเด็น ที่ยากลำาบากนี้

ยืนยันการรักษาความลับในประเด็นที่ผู้รับบริการเล่าให้ฟัง

แสดงความเข้าใจว่าเป็นเรื่องยากที่ผู้รับบริการจะเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น

ก. หลักการทั่วไป

1. ใช้ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

Références

Documents relatifs

» Le cas échéant, envisager de discuter de ces messages avec les guérisseurs traditionnels et autochtones locaux qui peuvent dispenser des soins à des individus atteints de

De possibles indicateurs pour évaluer l’implémentation du mhGAP-GI sont : (1) des indicateurs au niveau du centre de santé comme par exemple le nombre d’agents de

For the impact assessment, the Ministry of Health extracted data on the ICD-11 codes for groups of mental disorders (shown in the Methodology section) included in mhGAP training

The priority conditions included are depression, psychosis, bipolar disorders, epilepsy, developmental and behavioural disorders in children and adolescents, dementia, alcohol

The second section covers essentials of mental health clinical practice and aims to present healthcare providers with an overview of the assessment and management of MNS

Training of community and care workers: Community workers (e.g. lay providers or community health workers) and care workers (e.g. social workers, case managers) are uniquely

Master trainers should collect formal feedback through the evaluation forms (see ToTS supporting material and training forms), and informal feedback through discussions with

* La valutazione della condizione psichica (MSE) nella forma adattata per non specialisti dovrebbe includere la valutazione dei seguenti aspetti: Aspetto e Comportamento: sintomi